ผู้กู้เงินปลดออกจากราชการ
Posted:
พงษ์เดช คำภิระ
Date:
2016-06-10 12:43:35
สอบถามครับ กรณีผู้กู้เงินถูกปลดจากราชการไปแล้ว และมีงานทำเป็นหลักแหล่งและเงินเดือนสูงด้วยสรุปสั้นๆคือไปได้ดีแล้ว แต่เรายังคงต้องรับใช้หนี้แทนเขาอยู่ ตอนนี้ตัวผมเองลำบากมาก ใครพอช่วยผมได้บ้างบ้างครับขอปรึกษา ทั้งค่าบ้าน ทั้งลูกเมีย
ความคิดเห็นที่
1
โดย :ประสิทธิ์ชัย แก้วมณี 2016-06-10 14:38:20
ตอบตามหลักการนะครับ กรณีผู้ค้ำประกันต้องรับชำระหนี้แทนผู้กู้ด้วยสาเหตุต่างๆ ผู้ค้ำประกันสามารถใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากผู้กู้ได้ครับ ยิ่งถ้าท่านทราบผู้กู้ปัจจุบันมีงานทำเป็นหลักแหล่ง มีรายได้ที่แน่นอน และมีทรัพย์สิน การใช้สิทธิทางศาลก็ยิ่งจะง่ายขึ้นครับ
ความคิดเห็นที่
2
โดย :ประสิทธิ์ชัย แก้วมณี 2016-06-10 14:40:55
คัดลอกมาจากเว็บไซต์ของศูนย์นิติศาสตร์ครับ////ข้อเท็จจริง ผู้ร้องเป็นข้าราชการทหารเรือ เมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมาได้ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ที่ธนาคารออมสิน ต่อมาเมื่อต้นปี 2557 ผู้กู้ได้หนีราชการไปทำให้ผู้ร้องต้องรับผิดชำระหนี้เงินกู้แทนโดยวิธีการหักเงินเดือนของผู้ร้อง ผู้ร้องไม่สามารถติดต่อตัวผู้กู้ได้ทุกช่องทาง โดยผู้กู้มีเจตนาจะหนีหนี้อย่างชัดเจน/// ประเด็นคำถาม 1.ผู้ร้องสามารถดำเนินการอย่างไรทางกฎหมายกับผู้กู้ได้บ้าง มีอำนาจฟ้องคดีได้หรือไม่ 2. สามารถควบคุมตัวเพื่อให้ไปทำสัญญาใหม่กับทางธนาคารได้หรือไม่ ///ข้อกฎหมาย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 693วรรคแรก การดำเนินการให้คำปรึกษา ประเด็นที่ 1 สิทธิของผู้ร้องในฐานะผู้ค้ำประกันเงินกู้ที่มีต่อธนาคาร เมื่อผู้ร้องได้ชำระหนี้เงินกู้แทนไปแล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ เพื่อต้นเงินกับดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใดๆเพราะการค้ำปะกันนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 693วรรคแรก ดังนั้นเงินเดือนที่ผู้ร้องถูกหักชำระหนี้เงินกู้ทุกเดือน รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆในการติดตามทวงหนี้ค้ำประกันผู้ร้องย่อมมีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอากับผู้กู้ได้ทั้งสิ้น ประเด็นที่ 2 สำหรับหนี้ที่ผู้ร้องต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้นเป็นหนี้ทางแพ่ง ไม่มีความรับผิดทางอาญา และการบังคับชำระหนี้ต้องเป็นการใช้สิทธิทางศาลอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น หากผู้ร้องใช้วิธีการจับกุมตัวลูกหนี้ไปทำสัญญาที่ธนาคารอาจเป็นความผิดอาญาในฐานความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพได้ รวมทั้งการบังคับให้ทำสัญญาใหม่แม้จะทำเพื่อให้หนี้ของผู้ร้องระงับสิ้นก็ตาม แต่อาจมีผลให้สัญญาที่ทำตกเป็นโมฆียะเพราะถือว่าเป็นการข่มขู่อันเกิดจากความไม่สมัครใจก็ได้ อีกทั้งธนาคารในฐานะผู้ให้กู้อาจไม่ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงความรับผิดของคู่สัญญาก็ได้ จึงแนะนำให้ผู้ร้องฟ้องบังคับคดีต่อศาลแล้วตามยึดทรัพย์สินของลูกหนี้มาขายทอดตลาดเพื่อชำระหนี้น่าจะปลอดภัยกว่า
ความคิดเห็นที่
3
โดย :พงษ์เดช คำภิระ 2016-06-10 16:41:49
ขอบคุณครับที่แนะนำ และทำให้ผมมีกำลังใจแต่ ตอนนี้ไม่รู้จะฟ้องยังหาทนายแบบไหน แต่ก็ต้องทนสู้เพื่อลูกเมีย พ่อแม่ จะหนี้ออกจาก ทร.ก็จะเพิ่มปัญหากับคนอื่นอีกยังดีที่เรายังมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
ความคิดเห็นที่
4
โดย :ประสิทธิ์ชัย แก้วมณี 2016-06-11 07:11:44
เมื่อท่านสมาชิกตกลงใจแล้วสิ่งที่ควรจะทำเป็นอันดับแรกคือการไปปรึกษาทนายความถึงแนวทางการฟ้องคดี ตกลงค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายกับทนาย รวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะเอกสารต่างๆ รวมถึงการสืบทรัพย์ของผู้กู้เพื่อป้องกันการยักย้ายถ่ายเท คดีพวกนี้ไม่ยุ่งยากเพราะพยานหลักฐานพร้อม แต่ที่จะยุ่งยากคือการบังคับคดีหลังศาลมีคำพิพากษาครับ ถ้าผู้กู้ที่หนีหนี้มีงานประจำ ได้รับค่าจ้างหรือเงินเดือน การบังคับคดีก็อาจสามารถอายัดเงินเดือนหรือค่าจ้างนั้นได้ครับ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
ทะเบียน:
รหัสผ่าน: